ถ้าคุณเป็นแฟนพันธ์แท้หรือติดตาม thaiopensource.org อยู่เป็นประจำ ก็จะเห็นบทความหนึ่งได้พูดถึงเรื่องของ Gitlab CI ไปแล้ว แต่สำหรับคนที่เริ่มนำ Agile เข้ามาอยู่ในชีวิต และอยากที่จะมี build tools เจ๋งๆ และมี plugin ให้เลือกเล่นได้เยอะๆ ก็ต้อง Jenkins เลยซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากๆ เช่นกัน
Jenkins ก็คือ open source continuous integration tools เขียนโดย java และยัง support พวก source code management อย่าง git subversion cvs อีกด้วย ซึ่งถ้าพูดไปแล้วก็เป็น tools ที่สะดวกเอามากๆ เมื่อคุณ push code ผ่านทาง git (ถ้าคุณทำให้ git hook ไปยัง Jenkins server) ตัว Jenkins ก็จะทำการ build ให้คุณด้วยอัตโนมัติตามที่คุณเขียน job เอาไว้ใน Jenkins
เรามาเริ่มติดตั้ง Jenkins กันเลยดีกว่า ในที่ผมจะทำการติดตั้งมันลงบน CentOS 6.5
เริ่มจากติดตั้ง Java 6 กันก่อน เนื่องจาก Jenkins นั้นถูกเขียนโดย java
# yum install java
หรือจะ
# yum install java-1.6.0-openjdk
หลังจากได้ java แล้วก็มาเพิ่ม Jenkins repository ลงไปใน yum repos ก่อน
# wget -O /etc/yum.repos.d/jenkins.repo http://pkg.jenkins-ci.org/redhat/jenkins.repo
# rpm --import https://jenkins-ci.org/redhat/jenkins-ci.org.key
ทำการติดตั้ง Jenkins
# yum install jenkins git -y
สั่งปิด ipatables ก่อน
# iptables -F
คำสั่งสำหรับ start/stop
# service jenkins start/stop/restart
กำหนดให้ start ตั้งแต่ boot เครื่อง
# chkconfig jenkins on
หลังจากสั่ง start service เรียบแล้วร้อยคุณก็สามารถเข้าใช้งาน Dashboard ของ Jenkins ผ่านทาง browser ได้เลย
เราลองมาลง plugin ที่น่าสนใจกันดีว่า เริ่มจาก click ไปที่ Manage Jenkins > Plugin Manager
Plugin พื้นฐานที่ผมเลือกลงมีประมาณเท่านี้
ทดสอบสร้างโปรเจคขึ้นมา build กัน เริ่มจาก click ที่ New Item
แล้วทำการเพิ่ม build script ลงไปซึ่งแต่ละภาษาแต่ละโปรเจคอาจจะไม่เหมือนกัน
เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้น
ทดลองสร้าง monitor wall จาก build monitor plugin ที่เราเพิ่งลงไป และทำการเพิ่ม project ที่เราสนใจมาใส่ใน monitor