สำหรับผู้ใช้งาน Linux ทั้งหลาย ที่ยังอาจจะหาโปรแกรมที่ถูกใจไม่ได้ ลองมาดูกันครับ กับซอฟต์แวร์เด็ด กว่า 50ตัว ที่จะช่วยให้คุณรัก Linux มากขึ้น จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
ANIMATION SOFTWARE
- Blender 3D: ตัวนี้คิดว่าน่าจะรู้จักกันดีครับ เป็นโปรแกรมสร้างโมเดล 3มิติ รวมถึงสามารถสร้าง อนิเมชั่นได้ด้วย อีกทั้งยังมี Game Engine ในตัว ในขนาดของโปรแกรมที่เล็กจนน่าตกใจ ใครทำงาน หรือมีความสนใจในด้านนี้ ต้องลองครับ
- Pencil (2D): Pencil เป็นโปรแกรมสร้างอนิเมชั่น แบบ 2มิติ ใครเป็นเซียนวาดการ์ตูน ต้องลอง
- KPovModeler: เป็นโปรแกรมช่วยตั้งค่าแสง POV-Ray ใช้ร่วมกับ Blender 3D ก็ดีครับ ช่วยให้แสงในการเรนเดอร์สวยงามขึ้นครับ
- Stopmotion: เป็นโปรแกรมจับภาพ รวมไปถึง สามารถทำออกมาเป็น อนิเมชั่นได้ด้วย
- Synfig (2D): ตัวนี้เป็นโปรแกรมทำ อนิเมชั่น 2มิติ เช่นกันครับ
- Anime Studio 5 (2D): เป็นโปรแกรมทำ อนิเมชั่น 2มิติ อีกเช่นกันครับ แต่ตัวนี้ไม่ฟรี คงจะมีอะไรดีกว่าตัวอื่นๆอยู่ ราคาตกอยู่ที่ $199.99 ครับ ไม่แน่ใจว่ามีตัวทดลองให้เล่นไม๊
AUDIO SOFTWARE
- Audio CD Extractor (ripper): หรือที่ผู้ใช้ Ubuntu เราๆ รู้จักกันในชื่อ Sound Juicer ครับ เป็นโปรแกรมช่วยดึงเพลง จาก CD เพลง ออกมาเก็บเป็นไฟล์ไว้ฟังในเครื่องครับ
- Audacity (recorder): โปรแกรมตัดต่อเสียงอย่างง่ายครับ ใช่งานง่าย คุณภาพดี หัดได้ไม่ยาก แม้คนที่ไม่เคยตัดต่อเสียงมาก่อน
- Sound Converter: โปรแกรมแปลงไฟล์เสียง สามารถแปลงได้ตั้งแต่ mp3, wav, flac ไปจนถึง ogg เลยทีเดียว
- Last Exit (player): Last Exit เป็นโปรแกรมฟังเพลงจาก Last.fm ครับ ใครเป็นแฟน Social Network ของกลุ่มคนฟังเพลงนี้ล่ะก็ ได้เวลา apt กันแล้วครับ
- Hipo iPod Management Tool: เครื่องมือจัดการเพลงสำหรับเครื่อง iPod แสนรักของคุณครับ
- Utube-Ripper: โปรแกรมดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube ตามคำโฆษณาเขาว่า ใช้งานง่าย ไม่ยาก แต่ไม่เคยลองเหมือนกันครับ
- Freqtweak: โปรแกรมในตระกูล Tweak ที่จะช่วยให้เราจัดการกับการดึงโปรแกรมเข้า เอาโปรแกรมออกได้อย่างง่ายดาย
VIDEO SOFTWARE
- VLC: โปรแกรมที่แทบจะทุกคนนั้นรู้จักดี แม้กระทั้งผู้ใช้จากฝั่งวินโดวส์ เพราะมันเป็นโปรแกรมแรกๆ ที่สามารถดูคลิปมือถือได้ :P VLC โปรแกรมเล่นไฟล์มีเดียครอบจักรวาล น้อยมากที่จะไม่สามารถเล่นด้วย VLC ได้ ใครมีปัญหาดูหนังฟังเพลงไม่ได้ ลองปรึกษา VLC ดูครับ
- AcidRip: เป็นโปรแกรมคัดลอก DVD Video รอบรับ codecs หลายๆประเภท เช่น XviD, x264, MPEG, และอื่นๆอีกมากมาก รวมถึงสามารถปรับแต่งค่าต่างๆได้พอสมควร
- Avidemux: โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ มีฟิลเตอร์ให้ใช้อย่างเพียงพอต่อการใช้งาน
- DVD::RIP: โปรแกรมที่จะช่วยแปลง DVD ของคุณให้เป็นไฟล์ที่สามารถดูในเครื่องได้ เช่น AVI เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถแปลงไฟล์ ISO เป็น VOB ได้อีกด้วย
- Gnome Subtitles: โปรแกรมจัดการ Subtitle ครับ ใครชอบแนวนี้ต้องลองครับ
- iriverter: ตัว frontend ของโปรแกรม mencoder ที่จะช่วยให้คุณสามารถ convert วิดีโอได้โดยง่าย
- Wink: โปรแกรมจับ video screencasts เหมาะจะเอาไปทำ video tutorials หรือ presentations เป็นที่ยิ่งครับ
- XBMC Media Center: ตามชื่อเลยครับ มันคือโปรแกรมในกลุ่ม media center นั่นเอง และยังรองรับการใช้งานบน Ubuntu อย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย ความสามารถก็เช่นเดียวกับ Media Center ทั่วไปครับ ดูหนัง ฟังเพลง ดูภาพ แสดงรูปภาพศิลปิด หรือปกของอัลบัม
GRAPHICS
- GIMP: คงไม่มีใครไม่รู้จัก GIMP เป็นแน่ครับ ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพคุณภาพสูงตัวนี้ ที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้อย่างไรที่ติ
- Hugin: โปรแกรมสร้างภาพ panorama จากภาพที่ถ่ายแบบต่อเนื่องกันครับ ใครรักการถ่ายภาพก็ ได้เวลาหาของเล่นใหม่มาเล่นแล้วคับ
- Comix: โปรแกรมอ่านไฟล์หนังสือที่เป็น comic book ครับ
- FlickrUploader: ไม่แน่ใจว่ามีใครใช้ Flickr กันบ้างไม๊ ถ้ายังคงอัพภาพผ่านหน้าเว็บอยู่ล่ะก็ อย่ามัวเสียเวลาเลยคับ ใช้ Uploader นี่ล่ะเร็วดี
- Inkscape: อีกโปรแกรมที่เป็นที่นิยมไม่แพ้ GIMP ครับ สามารถนำมาใช้งานจริงได้สบายๆ (ทำมาแล้วครับ) ใครยังกังวลว่ามันจะใช้งานไม่ได้ล่ะก็ ได้เวลาลองใหม่แล้วครับ
- Phatch Photo Batch Processor: โปรแกรมจัดการรูปภาพแบบทีละมากๆครับ มีความสามารถพื้นฐานครบถ้วน ตั้งแต่ resize, crop, rotate, add rounded corners, change perspective และอีกมากมาย ที่คุณจะจัดการกับภาพขโยงใหญ่ในไม่กี่คลิก
- QCaD: โปรแกรมเขียนแบบ CAD/CAM ที่คุณภาพสูง รองรับไฟล์จาก AutoCAD ได้ อีกทั้งยังใช้ไฟล์ dxf เป็น format หลักในการจัดเก็บไฟล์อีกด้วย
OFFICE
- xPDF: ชุดเครื่องมือจัดการไฟล์ PDF ซึ่งพ่วงมากับตัว viewer รองรับ PDF มาตรฐาน, Truetype, และ Type 1 fonts สามารถแปลงไฟล์ PDF ไปเป็นไฟล์รูปแบบอื่นได้ด้วยครับ
- AbiWord: โปรแกรม Word Processer ขนาดเล็ก มีความสามารถครบถ้วนตามที่ Word Processor ควรมี
- OpenOffice Writer: โปรแกรม Word Processor รุ่นใหญ่มากความสามารถ ใช้งานแทน MS Office ได้สบายๆครับ
- OpenOffice Spreadsheet: ใช้ทดแทน MS Excel
- OpenOffice Presentation: ใช้ทดแทน MS PowerPoint
- OpenOffice Impress: ใช้ทดแทน MS Publisher
- KAddressBook: โปรแกรมจัดการ Contact
- KOrganizer: เป็นชุดโปรแกรม Organizer มีทั้ง calendar และ scheduling และความสามารถอื่นๆ
- GnuCash: โปรแกรมบริหารจัดการการเงิน เหมาะจะใช้งานทั้งบริหารเงินส่วนตัวหรือใช้ในทางธุรกิจก็ตาม
- xCHM: โปรแกรมสำหรับดูไฟล์ CHM และ HTML
UTILITIES
- GPSDrive: ระบบ navigation ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับตัวรับสัญญาณ GPS โดยเฉพาะ ใครหลงทางบ่อยๆลองเอามาใช้ดูครับ
- Gnome Partition Editor: ตัวจัดการพาร์ทิชั่นมากความสามารถ อีกหนึ่งตัว ที่น่าใช้เป็นอย่างมาก
- Virtual Box OSE: โปรแกรม virtual machine ฟรีๆที่ใช้งานได้ดี ไม่แพ้โปรแกรม VM ตัวอื่นๆครับ
- ClamAV: โปรแกรมฆ่าไวรัสใช้งานง่าย มีติดเครื่องไว้ก็ดีครับ
- Gmount-ISO: โปรแกรมช่วยเมานท์ไฟล์ ISO ครับ ใครจำคำสั่งเวลาเมานท์ไม่ค่อยได้ ลองเอาตัวยร้ไปใช้กันดู
INTERNET
- Opera: อีกหนึ่งเว็บเบราเซอร์ตัวเบาๆ ที่จะช่วยคุณท่องเที่ยวไปในอินเทอร์เน็ตครับ ลองเอาไปเล่นกันดูครับ
- Mozilla Firefox: เว็บเบราเซอร์ที่กำลังมาแรงตัวนี้ ควงไม่ต้องบอกแล้วว่าทำไมถึงควรใช้
- Thunderbird: โปรแกรมอีเมล์ไคลเอนท์ตัวเก่ง ครบถ้วนทุกความสามารถที่โปรแกรมอีเมล์ไคลเอนท์ควรมี
- SeaMonkey: อีกหนึ่งเบราเซอร์มากความเสถียรที่พัฒนามาจาก Firefox ครับ
- Evolution: อีเมล์ไคล์เอนท์ที่รวมความสามารถของ Organizer ไว้ในตัว
- Pidgin IM: โปรแกรมชุด instant messaging ที่รองรับเครือข่ายต่างๆไว้อย่างมากมาย
- gFTP: ของขาดไม่ได้สำหรับคนทำเว็บครับ โปรแกรม FTP ที่ใช้งานได้ง่ายๆ
ที่มา: http://laptoplogic.com/resources/top-50-linux-alternatives-to-popular-apps