เราสามารถใช้งาน Source Tree ร่วมกับ GitHub หรือ Bitbucket ได้ (รายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้ง source tree สามารถดูได้จาก บทความนี้ ครับ)
Author Archives: Tatat Thanakanok
วิธีการตั้งค่าให้ Juju เชื่อมต่อกับ AWS
juju นั้นสามารถเชื่อมต่อกับบริการ cloud ได้อย่างหลากหลาย ทั้ง public cloud และ private cloud ยกตัวอย่างเช่น AWS (Amazon EC2), Azure, OpenStack แม้กระทั่ง Data Center ของคุณเองจนถึง Ubuntu บน Laptop ของคุณก็ด้วย
ในบทความนี้ผมจะขอแนะนำวิธีการกำหนดค่า config เพื่อให้ juju เชื่อมต่อกับ AWS เพื่อพร้อมสำหรับการ deploy ในขั้นตอนต่อๆ ไป
เริ่มต้นโดยการสมัครใช้บริการกับ Amazon ก่อน ไปที่เว็บไซต์ http://aws.amazon.com/ แล้ว log in เข้าใช้งาน (กรณีที่ไม่มี account บน AWS รบกวน Sign Up ก่อนนะครับ)
ตั้งค่า Juju เพื่อเชื่อมต่อกับ Microsoft Azure
เราสามารถใช้งาน juju เพื่อทำการ deploy application ไปยัง cloud ของ Microsoft Azure ได้ โดยจะต้องกำหนดค่า config เพื่อเชื่อมต่อก่อน
เริ่มต้นโดยการติดตั้ง juju ก่อน (สำหรับบน Ubuntu) โดยใช้คำสั่ง
$ sudo add-apt-repository ppa:juju/stable
$ sudo apt-get update && sudo apt-get install juju-core
จากนั้นให้ generate ไฟล์ config สำหรับ juju โดยใช้คำสั่ง
$ juju generate-config
Continue reading
การติดตั้ง Joomla! ด้วย Juju
ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึงการติดตั้ง wordpress ด้วย juju โดยเชื่อมต่อกับ AWS มาแล้ว วันนี้ผมจะมาพูดถึงการติดตั้ง joomla ด้วย juju ซึ่งครั้งนี้ผมลองเชื่อมต่อกับ Azure กันบ้างนะครับ
หลังจากที่รันคำสั่ง
$ juju bootstrap
เพื่อสร้าง environment เรียบร้อยแล้ว ให้รันคำสั่งเพื่อติดตั้ง joomla
$ juju deploy joomla
แนะนำ Juju และวิธีการติดตั้งบน Ubuntu (Local)
Juju คือเครื่องมือสำหรับ Deploy, Manage, Maintain โครงสร้าง Infrastructure ของคุณไปยัง Cloud ทั้ง public, private รวมถึง hybrid cloud ทั้งผ่านทาง GUI และ command line
แต่สำหรับบทความนี้ผมจะพูดถึงการใช้ Juju ในการ deploy ด้วย command line บนเครื่อง local ก่อนนะครับ เพื่อแนะนำวิธีการใช้งาน Juju โดยในบทความถัดๆ ไปจะกล่าวถึงการเชื่อมต่อกับ cloud service อื่นๆ บ้างนะครับ
Continue reading
วิธีสร้าง Branch บน GitHub Desktop
อย่างที่รู้กันว่าการสร้าง branch บน git เป็นแนวทางการพัฒนาที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการใช้ประโยชน์จาก git ซึ่งหากเป็นการใช้งาน git ผ่าน command line วิธีการสร้าง branch ส่วนตัวผมมักจะชอบใช้คำสั่ง
$ git checkout -b <ชื่อ branch>
และเวลาที่ต้องการสลับการทำงานระหว่าง branch ก็จะใช้คำสั่ง
$ git checkout <ชื่อ branch>
แต่หากต้องการทราบว่าขณะนี้กำลังทำงานอยู่ที่ branch ใด ก็เพียงแค่ใช้คำสั่ง
$ git branch
Continue reading
วิธีการติดตั้ง และใช้งาน GitHub Desktop
กรณีที่เราใช้งาน Git ผ่านผู้ให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น GitHub นั้น ทางผูัให้บริการเขาอำนวยความสะดวกโดยการมีตัวติดตั้ง GitHub Desktop ให้เราเข้าไปดาวน์โหลด เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปติดตั้งบนเครื่อง ซึ่งวิธีการใช้งานก็เป็นลักษณะ GUI ซึ่งเข้าใจได้โดยง่าย
วิธีการติดตั้งใช้งาน GitHub Desktop เริ่มต้นโดยการเข้าไปดาวน์โหลด GitHub Desktop ที่เว็บไซต์ https://windows.github.com (สำหรับ Windows)
Continue reading
มาเริ่มใช้ Git บน GitHub กัน
อย่างที่ทราบกันว่า git เป็นเทคโนโลยีที่จะให้นักพัฒนาอย่างเราๆ สะดวกสบายในการพัฒนาอะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่ง git จะทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับเวอร์ชันของซอร์สโค้ดของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างเวอร์ชัน (diff) การย้อนกลับมาเวอร์ชันก่อนหน้าเมื่อมีปัญหา (revert) หรือตรวจสอบเกี่ยวกับรายละเอียดของแต่ละเวอร์ชัน (log)
นักพัฒนาที่ใช้ git ส่วนใหญ่ จะนิยมใช้บริการจากผู้ให้บริการอย่าง GitHub หรือ BitBucket แต่ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย อาจจะเลือกที่จะตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการซอร์สโค้ดเอง
Continue reading
การใช้งาน Local Repository ร่วมกับ Remote Repository
ความแตกต่างระหว่าง local repository กับ remote repository นั้น ก็เหมือนกับการที่เราทำงานบนเครื่องของเรา กับการทำงานโดยข้อมูลอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งอย่างหลังทำให้มีความปลอดภัย และทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้ง่ายกว่า
เริ่มต้นโดยการทดลองใช้คำสั่ง git init
เพื่อสร้าง repository บน local ก่อน
Continue reading
การใช้งาน Git ในลักษณะ Feature Branch Workflow
การใช้งาน Git ผ่าน Remote Repository ร่วมกันนั้น ก่อนหน้านี้เราพูดถึงการทำงานแบบ Centralized Workflow ไปแล้ว ในคราวนี้จะพูดถึงการทำงานอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจาก Centralized Workflow นัก เพียงแต่ผู้พัฒนา พัฒนาโดยแตก Branch Feature บน local repository แล้วจึง merge แล้ว push ไปยัง Remote Repository
เริ่มต้นจากนักพัฒนามากกว่า 1 คน ที่ทำงานบน remote repository เดียวกัน เริ่มโดยการใช้คำสั่ง git clone
เพื่อคัดลอกมาทำงานบน local repository
Continue reading