เราสามารถ Clone Suriyan ได้เช่นเดียวกันกับ Windows โดยสามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่ควรจะทำกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นรุ่นเดียวกัน สำหรับเครื่องมือในการ Clone หากคุณไม่มีลิขสิทธิ์ของ Norton Ghost ที่ถูกต้อง เราขอแนะนำให้ใช้ CloneZilla ซึ่งสามารถ Clone เครื่องได้เช่นเดียวกับ Norton Ghost ซึ่งสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี ที่ clonezilla.org
Tag Archives: Install
Macbook ลง Suriyan ได้หรือไม่
Suriyan ออกแบบให้รองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม i386 ซึ่ง Macbook รองรับสถาปัตยกรรมนี้ จึงสามารถลงได้ แต่การติดตั้งบนเครื่อง Macbook นั้นอาจจะมีปัญหาในด้าน Driver และระบบจัดการพลังงานจึงไม่แนะนำให้ใช้
เมื่อบูทจากแผ่นแล้วพบข้อความเกี่ยวกับ BusyBox
อาการข้อความเกี่ยวกับ BusyBox เกิดจากการที่ไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้ โดยควรจะตรวจสอบรอยบนแผ่นซีดี และอาการเสียของไดรว์ซีดี
ต้องการลบ Suriyan ทำอย่างไร
สามารถลบ Suriyan ได้ โดยใช้แผ่นติดตั้ง Suriyan หรือแผ่น Recovery ทั่วไป ทำการลบ Partition ของ Suriyan ออก (เป็นชนิด Linux ext4 และ Linux swap) จากนั้นหากติดตั้ง Microsoft Windows อยู่จะต้องนำแผ่นติดตั้ง Windos มาเข้าสู่ recovery mode แล้วกู้ bootloader โดยใช้คำสั่ง fixmbr (XP) bootrec /fixmbr (Vista/7)
ต้องการทำ Suriyan ในรูปแบบ live USB ซึ่งเป็นระบบที่สามารถบูตได้ด้วย USB โดยใช้ Windows จะต้องใช้โปรแกรมอะไรช่วย
สำหรับผู้ใช้ Windows (และ Linux) ที่ต้องการทำ Suriyan ให้บูตได้โดยผ่าน USB สามารถดาวน์โหลดเครื่องมือหนึ่งที่ชื่อ Unetbootin มาติดตั้ง
http://unetbootin.sourceforge.net/
วิธีทำ Suriyan Live USB แค่เพียงหา USB เปล่าๆ ที่มีเนื้อที่ 4GB เสียบเข้าต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เปิดโปรแกรม
เลือก Disk Image แบบ ISO และเลือกไฟล์ Suriyan ที่เป็นรูปแบบ .iso ตรวจดูว่า USB ที่เสียบไว้ปรากฏในช่อง USB Drive อย่างถูกต้องหรือไม่
ถ้าถูกต้องให้กดปุ่ม OK เพื่อสร้าง Suriyan Live USB อย่าลืมกำหนดค่าไบออสคอมพิวเตอร์ในการบูตเป็น USB เป็นลำดับต้น
เครื่องไม่มี Drive DVD จะติดตั้ง Suriyan 53 ได้อย่างไร
หากเครื่องที่ใช้ไม่มีไดรว์ดีวีดีที่จะใช้ในการติดตั้ง Suriyan เราสามารถใช้วิธีสร้างตัวติดตั้ง USB เพื่อใช้ในการติดตั้งได้ หรือจะติดตั้ง Ubuntu แทนก็ได้ เพราะเป็นเวอร์ชั่นซีดี และมีรากฐานที่เหมือนกันกับ Suriyan อยู่แล้ว
จะติดตั้ง Suriyan บนระบบแฟ้มแบบ FAT หรือ NTFS ได้หรือไม่
ไม่ได้ Suriyan จะบังคับให้ติดตั้งบนระบบแฟ้มแบบ Ext2, Ext3, Ext4 โดยจะใช้ค่าปริยายเป็น Ext4 อย่างไรก็ตาม Suriyan สามารถอ่าน/เขียนไฟล์จากระบบแฟ้มแบบ FAT หรือ NTFS
การติดตั้งค้างอยู่ที่ “กำลังติดตั้งชุดภาษา”
ในขั้นตอนการติดตั้ง Suriyan ที่จะมีขั้นตอนหนึ่งซึ่งในบางครั้งจะใช้เวลานานมากที่มักจะค้างอยู่ตรงที่เขียนว่า “กำลังติดตั้งชุดภาษา” ซึ่งสำหรับการติดตั้งในส่วน “กำลังติตตั้งชุดภาษา” นั้นจะต้องใช้อินเทอร์เน็ต หากอินเทอร์เน็ตช้ามาก ให้กดปุ่ม “ข้าม” ไปได้จะไม่มีผลแต่อย่างใด
เครื่องไม่มีไดรว์ซีดี จะติดตั้ง Suriyan ได้หรือไม่
ได้ โดยการสร้างตัวติดตั้ง Suriyan ด้วย USB Flsah ด้วยวิธีการดังนี้
- บูต Suriyan ผ่านเครื่องที่มี CD-ROM
- ไปที่เมนูระบบ > ดูแลระบบ > Startup Disk Creator
- ที่หน้าจอโปรแกรม Startup Disk Creator ช่องบนให้เลือก CD-ROM ของ Suriyan หรือไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา ส่วนช่องด้านล่างให้เลือก Flash drive ที่จะใช้ในการสร้างตัวบูต
- รอให้โปรแกรมสร้างตัวบูตสักครู่
- จากนั้นนำ Flash drive ที่ได้ ไปใช้ติดตั้งในเครื่องที่ไม่มีไดรว์ซีดี
เริ่มติดตั้ง CentOS 5.2 ตอนที่ 1 (หน้า 4)
– เมื่อติดตั้งเสร็จและบูตระบบขึ้นมาใหม่จะปรากฎหน้าเข้าสู่ CentOS
– หน้าจอ Boot CentOS 5.2 เพื่อเข้าสู่ระบบ
– ในขณะที่บูตระบบสามารถกดปุ่ม Esc เพื่อดู Service ต่าง ๆ ของ CentOS 5.2 ว่าสามารถทำงานได้อย่างปกติหรือไม่
– เมื่อบูตระบบขึ้นมาแล้วจะเข้าสู่หน้าจอต้อนรับของ CentOS 5.2 ให้คลิ๊กที่ปุ่ม Forward เพื่อตั้งค่าต่าง ๆ ต่อไป
– ต่อไปจะเป็นการตั้งค่า Firewall ในที่นี้ผู้เขียนเลือก Disabled เพื่อปิด Firewall
– ต่อไปเป็นการตั้งค่า SELinux ในที่นี้ผู้เขียนเลือก Disabled เพื่อปิด SELinux
– ต่อไปเป็นการตั้งค่า Kdump (Kernel Crash Dumping mechanism)
– ต่อไปเป็นการตั้งค่า วันที่/เวลา
– ต่อไปเป็นการสร้าง User เพื่อใช้งานในระบบ
– ต่อไปเป็นการกำหนดค่า Additional CDs เพื่อใช้ในการ Update Package ต่าง ๆ ของ CentOS
– หลังจากกำหนดค่าต่าง ๆ เสร็จแล้วก็จะมาถึงหน้าจอ Login ระบบ
– หน้าจอหลังจาก CentOS 5.2 หลัง Login เข้าสู่ Xwindows ครั้งแรก
สำหรับบทความนี้ก็ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อน ในบทความต่อไปเราจะมาเริ่มติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Web Application,CMS หรือ ERP SERVER,VOIP ฯลฯ ด้วย CentOS 5.2 ด้วย CentOS 5.2 กัน
————————————————————————————————————-
การติดตั้ง CentOS 5.2 Server หน้าที่ 2
การติดตั้ง CentOS 5.2 Server หน้าที่ 3
การติดตั้ง CentOS 5.2 Server หน้าที่ 4
ดาวน์โหลด PDF