ความแตกต่างระหว่าง local repository กับ remote repository นั้น ก็เหมือนกับการที่เราทำงานบนเครื่องของเรา กับการทำงานโดยข้อมูลอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งอย่างหลังทำให้มีความปลอดภัย และทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้ง่ายกว่า
เริ่มต้นโดยการทดลองใช้คำสั่ง git init
เพื่อสร้าง repository บน local ก่อน
$ git init <ชื่อ repository>
ทดลองเพิ่มข้อมูลลงใน local repository จากนั้นจึงใช้คำสั่ง git commit
โดยเริ่มจากพิมพ์คำสั่ง
$ git add .
เพื่อเริ่ม track ไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน repository นี้
จากนั้นทดลองตรวจสอบสถานะดัวยคำสั่ง
$ git status
แล้วจึงใช้คำสั่ง
$ git commit -m <massage>
ข้อมูลดังกล่าวจะถูก commit อยู่ภายใต้ local repository แต่กรณีที่จำเป็นทำงานร่วมกันกับนักพัฒนาหลายๆ คน จำเป็นต้องทำงานบน remote repository ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่า
การกำหนด remote repository ทำได้โดยใช้คำสั่ง
$ git remote add origin <remote URL>
จากนั้นลองใช้คำสั่ง
$ git remote -v
เพื่อตรวจสอบ remote repository ที่ใช้งานอยู่
จากนั้นใช้คำสั่ง
$ git push origin master
เพื่อ push ข้อมูลใน local repository นี้ ไปยัง master branch ของ remote repository ที่สร้างไว้ก่อนหน้า
ทดลองเพิ่มไฟล์อีกไฟล์หนึ่งลงใน local repository โดยทำการทดลองเก็บไว้แค่บน local repository ไม่ใช้คำสั่ง git push
เพื่อดูความแตกต่างกับไฟล์ก่อนหน้าที่เก็บไว้บน remote repository ก่อนหน้านี้
นักพัฒนาอีกท่านหนึ่งชื่อ Manee เข้าร่วมโครงการ โดยใช้คำสั่ง git clone
เพื่อคัดลอก remote repository นี้ดูว่าได้ผลลัพธ์อย่างไร
หลังจากใช้คำสั่ง git clone
แล้วพบว่าไฟล์ที่เก็บอยู่ใน repository นี้ มีเพียงไฟล์เดียว ที่นักพัฒนาคนแรกได้ push เข้ามาเก็บเท่านั้น ไฟล์ที่ 2 ที่มีการทดลอง commit เฉพาะบน local repository นักพัฒนาท่านอื่น จะไม่เห็นไฟล์ดังกล่าวที่ไม่ได้ใช้คำสั่ง push มาไว้บน remote repository แต่อย่างใด