หลังจากที่เราได้ติดตั้ง juju และทำการ config ไปยัง cloud ของเราแล้ว (หมายความว่าจะเป็น private cloud, public cloud หรือจะเป็น local ก็ได้) ในตัวอย่างผมได้มีการเชื่อมต่อกับ AWS ของ Amazon
หลังจากที่รันคำสั่ง
$ juju bootstrap
จากนั้นรันคำสั่งติดตั้ง wordpress
$ juju deploy wordpress
จากนั้นรันคำสั่งติดตั้ง mysql เพื่อนำมาเป็น database ให้กับ wordpress
$ juju deploy mysql
จากนั้นผมจะลองตรวจสอบสถานะด้วยคำสั่ง
$juju status
ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามรูปด้านล่าง
สถานะของ machines จะพบว่ามีอยู่ 3 ตัวด้วยกันที่กำลังรันอยู่ (ให้สังเกตที่ instance id ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งในช่วงท้ายบทความ)
และสถานะของ services จะพบ mysql และ wordpress ที่ใช้คำสั่ง deploy ไปเมื่อสักครู่นี้ (สังเกตว่า mysql รันอยู่บน machine “2” และ wordpress รันอยู่บน machine “1”)
สิ่งที่ต้องทำถัดไปคือทำการสร้าง relation ระหว่าง wordpress กับ mysql เนื่องจากคำสั่ง deploy เป็นเพียงการติดตั้งเท่านั้น แต่ระหว่าง wordpress และ mysql ที่ติดตั้งนี้ ยังไม่มีการเชื่อมต่อกัน (ในฐานะที่จะให้ mysql จะรันเป็น database ของ wordpress)
การสร้าง relation นี้ให้ใช้คำสั่ง
$ juju add-relation wordpress mysql
หลังจากสร้าง relation ระหว่าง wordpress และ mysql ตามคำสั่งด้านบนแล้ว ลองตรวจสอบสถานะอีกครั้งด้วยคำสั่ง
$ juju status
ในส่วนของ services จะเห็นว่าในส่วนของ db บน mysql มีรายการ wordpress อยู่ และส่วนของ db บน wordpress ก็มีรายการ mysql อยู่เช่นกัน
แต่เราจะเห็นว่าสถานะของ ทั้ง wordpress และ mysql นั้นมีสถานะ pending เนื่องจากเรายังไม่ได้รันคำสั่งให้ระบบทำงาน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง
$ juju expose wordpress
เมื่อรันคำสั่งดังกล่าวแล้ว ให้รอสักครู่ (ไม่เกิน 3 นาที) แล้วตรวจสอบสถานะอีกครั้งด้วยคำสั่ง
$ juju status
จะสังเกตเห็นว่า state ของทั้ง mysql และ wordpress เปลี่ยนไปเป็น started
ทดสอบการเข้าใช้งานโดยการคัดลอก public-address ไปวางบน browser
ลองมาดูบน AWS console ว่ามีรายการดังกล่าวปรากฎขึ้นมาหรือไม่
ให้สังเกตตรงส่วนของ Instance ID แล้วเปรียบเทียบกับ status ที่ตรวจสอบเมื่อสักครู่จะพบว่า wordpress ที่รันอยู่บน machine 1 มี Instance ID ตรงกับรายการที่ 3 บน AWS console และ mysql ที่รันอยู่บน machine 2 มี instance ID ตรงกับรายการที่ 1 บน AWS console