เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้ของเล่นใหม่จาก Deaware มา 1 อันเป็น Wifi Dev Kit ชื่อ Photon จากค่าย Particle (หรือชื่อ Spark เดิมนั่นเอง) ผมซื้อต่อจาก Deaware มาในราคาไม่แพงเท่าไรเน้นสนุกไว้ก่อน
คุณสมบัติของ Photon ก็ประมาณนี้
- เสียบ breadboard ได้
- ใช้งานได้เหมือนกับ Spark Core
- ผ่านการรับรองจาก FCC/CE/IC certified
- ใช้สถาปัตยกรรม STM32F205 ARM Cortex M3
- ใช้ Broadcom BCM43362 Wi-Fi chip
- เป็น Open source hardware
การใช้งาน Photon สามารถใช้งานได้หลายช่องทาง เช่น
- เขียนโค้ดผ่าน Particle Build Web IDE
- หากต้องการใช้งาน Local IDE ก็มี Particle Dev ให้ใช้งาน
- ใช้งานผ่าน Tinker
- หากต้องการเขียน Mobile App เพื่อเชื่อมต่อกับ Particle ก็ทำได้โดยใช้ Mobile SDK
- ใช้ผ่าน Paricle-CLI
- ใช้ผ่าน ParticleJS
เลือกใช้กันตามสะดวก มาลองเล่น Photon กับ Mobile App กันก่อน ติดตั้ง App ชื่อ Particle จากนั้นมาเพิ่ม device กัน
กด Get Started
กด Ready จะเข้าสู่หน้า Your Devices กดปุ่ม + เลือก Photon
จากนั้นโปรแกรมจะแจ้งให้เสียบสาย USB ตัว Photon จะกระพริบไฟสีฟ้าเข้าสู่โหมด Setup ถ้าไม่กระพริบกดปุ่ม Setup ค้างไว้ 3 วินาทีจนไฟสีฟ้ากระพริบ
กด Ready แล้้วเลือก Photon ของคุณ
เลือก AP ที่ต้องการให้ Device ไปเชื่อมต่อ
รอจนตั้งค่าเสร็จ โปรแกรมจะให้เราตั้งชื่อ device
แล้วจะกลับมาที่หน้า Your Devices อีกครั้งพร้อมรายการ device ที่เพิ่มเข้ามา
กดเข้าไปที่ device ที่เราต้องการ จะได้หน้าจอดังนี้
วิธีการเล่น Tinker เลือก Pin ที่ต้องการ กำหนดการทำงาน เช่น Digital Read, Degital Write, Analog Read, Analog Write จากนั้น Tap เพื่อเปลี่ยนค่า Low, High หากเป็น Analog Write จะเป็น Slider ให้กำหนดค่า PWM มาลองเล่น pin D7 กำหนดเป็น Digital Write
จากนั้น Tap ที่ D7 อีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนค่า LOW, HIGH
ดู LED ที่ D7 จะติดและดับ
มาลอง Analog Write กันบ้าง เพิ่มหลอด LED ที่ A5 จากนั้นกำหนด A5 ให้เป็น Analog Write
Tap ที่ A5 อีกครั้งจะพบว่ามี Slider มาให้เรากำหนดค่า PWM
ไฟ LED เพิ่มลดความสว่างตามค่า PWM ที่กำหนด
สำหรับการเขียนโค้ดผ่าน Photon Build ก็เขียนโค้ดเหมือนกับ Arduino มี function setup() และ loop() เหมือนกัน แต่สำหรับ function ที่ใช้งานต้องไปดูเพิ่มเติมใน Doc นะครับ มาลอง โปรแกรมแรกกัน
กดปุ่ม verify แล้วกดปุ่ม flash ได้เลย ตัว builder จะ compile แล้วสั่ง OTA Update มายังอุปกรณ์ให้เราก็จะพบว่าขา A5 ไฟกระพริบแล้ว
มาลองสั่งงานผ่าน REST API และ Photon CLI กันดูบ้าง Device ของเราจะถูกลงทะเบียนไว้ที่ Cloud Platform และเราสามารถสั่งงาน Device ของเราผ่าน REST API หรือทาง Photon CLI ได้
จากโค้ดเราส่ง parameter ผ่านไปยัง function ชื่อ led สำหรับ URI ที่ใช้ส่งค่ามีรูปแบบดังนี้
https://api.particle.io/v1/devices/YOUR-DEVICE-ID/led?access_token=YOUR-ACCESS-TOKEN
ค่า Device ID ดูได้จากหน้า Dashboard หรือ Setting ใน Mobile App
และค่า Access Token ดูได้ที่หน้า Setting ของ Particle Build
ลองสั่งผ่าน curl ดังนี้
curl https://api.particle.io/v1/devices/YOUR-DEVICE-ID/led \
-d access_token=YOUR-ACCESS-TOKEN \
-d params=on
หลอด LED ที่อยู่บน A5 จะติด
curl https://api.particle.io/v1/devices/YOUR-DEVICE-ID/led \
-d access_token=YOUR-ACCESS-TOKEN \
-d params=off
หลอด LED ที่อยู่บน A5 จะดับ
ลองสั่งผ่าน Particle CLI บ้าง ติดตั้ง Particle CLI กันก่อนดังนี้
sudo npm install -g particle-cli
จากนั้นสั่ง login ดังนี้
particle login
เมื่อ login เสร็จเรียบร้อย เราก็สามารถสั่ง call device โดยใช้ชื่อ device ได้ดังนี้
particle call leser01 led on
particle call leser01 led off
สำหรับการใช้งานเพิ่มเติมอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Doc ของ Particle ครับ