หลักสูตร 3 วัน วันที่ 13-15 มีนาคม
เนื้อหาหลักสูตร
Part 1 : แนะนำสู่โลกของ Ubuntu
* แนวความคิดเกี่ยวกับซอฟต์แวร์เปิด (Open Source), แนวความคิด GNU
ผุ้ใช้ได้จะได้เรียนรู้ว่าทำไมถึงต้องเป็น
โอเพนซอร์ซและแนวความคิดนี้สามารถสร้างอิสระภาพให้ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ได้
อย่างไร
* ประวัติและความเป็นมาของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และลินุกซ์
ให้ผู้เรียนได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของลินุกซ์
รวมทั้งความหลากหลายของดิสทริบิวชั่นต่างๆ
* ดิสทริบิวท์ชั่นระบบปฏิบัติการลินุกซ์
* แนะนำลินุกซ์ดิสทริบิวชั่น Ubuntu ให้เข้าใจว่าเหตุใดถึงต้องต้องเป็น Ubuntu
Part 2 : ระบบไฟล์ของลินุกซ์
* ลักษณะของโครงสร้างของพาร์ติชันและไฟล์
สิ่งที่แตกต่างจากระบบปฏิบัติการอย่างไมโครซอฟต์
ความหลากหลายของการแบ่งพาร์ติชันชนิดต่างๆ
เหตุและผลว่าทำไมต้องแบ่งพาร์ติชันแบบนั้น
* ระบบไฟล์ชนิดต่างๆ ในลินุกซ์
ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงข้อเด่นช้อด้อยของระบบไฟล์ชนิดต่างๆ วิวัฒนาการ
รวมทถึงปัญหาที่นำมาสู่การสร้างระบบไฟล์ใหม่ๆเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
วิเคราะห์หาระบบไฟล์ที่ดีที่สุดในการนำไปใช้งานได้
* อธิบายความหมายของไดเรคทอรีต่าง ๆ
Part 3: การติดตั้งระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu
* ทำความเข้าใจถึงภาพรวมการติดตั้ง
วิธีการที่ลินุกซ์ถูกสร้างมาในรูปแบบแผ่นซีดีได้อย่างไร
และในระหว่างการติดตั้งมีวิธีการเบื้องหลังเป็นอย่างไร
* วางแผนการติตดั้ง การแบ่งพาร์ติชัน การกำหนดชนิดพาร์ติชั่น
ขนาดบล็อกข้อมูล ตามโจทย์ที่กำหนดให้
* ติดตั้งระบบปฎิบัติการลินุกซ์ Ubuntu ตามแผนที่ได้วางไว้
* การปรับแต่งระบบหลังการติดตั้ง เช่น ตั้งเวลา ตั้งค่าเครือข่ายแบบเบื้องต้น
Part 4: สัมผัสแรกของลินุกซ์ Ubuntu
* อธิบายถึงหน้าจอแรกที่เห็นซึ่งก็คือเชลล์
อธิบายถึงกลไกการสั่งงานผ่านเชล
วิธีการที่เชลรับคำสั่งจนได้ผลลัพธ์ของโปรแกรมต่างๆ ออกมา
* ทดลองใช้งานเชลล์แบบต่างๆ ทั้งแบบกราฟฟิกและเทกซ์โหมด
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมองเห็นความยืดหยุ่นของการใช้งานลินุกซ์
Part 5: การจัดการผู้ใช้งาน
* เข้าใจถึงวิธีการของระบบแบบหลายผู้ใช้ (multi-user)
โดยจะอธิบายถึงการเป็นแจ้าของ (owner) และกลุ่ม (Group)
ผู้เรียนจะได้เข้าใจถึงหลักการความปลอดภัยของลินุกซ์ในเบื้องต้น
จากความสัมพันธ์ระหวางความเป็นเจ้าของ (owner) กลุ่ม (group) และสิทธิ์
(permission) ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
* สามารถจัดการเพิ่ม ลบ และกำหนดสิทธิ์แบบต่างๆ ให้ผู้ใช้งานในระบบ
Part 6: การกำหนดโควต้าการใช้งานทรัพยากรระบบของผู้ใช้งาน
* เข้าใจถึงกลไกของโควต้า ระบบรับรู้ได้อย่างไรว่าโคต้าเต็ม
และวิธีการที่เคอร์เนลจัดการกับโควต้า
* การกำหนดโควต้าการใช้งานฮาร์ดดิสก์
Part 7: ระบบเครือข่าย
* ทำความเข้าใจระบบเครือข่ายเบื้องต้น การกำหนดไอพีแอดเดรส
การแบ่งคลาสของไอพี
กลไกที่อธิบายว่าคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ
ได้อย่างไร
* ทำความเข้าใจโครงสร้างของการจัดการระบบเครือข่ายใน Ubuntu
* ทำคำสั่งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบเครือข่ายใน Ubuntu
Part 8: ระบบการจัดการแพกเกจต่างๆ ใน Ubuntu
* ทำความเข้าใจความหมายของแพกเกจ เข้าใจโครงสร้างของแพกเกจ
จากการเปลี่ยนรูปจากซอร์ซโค้ดมาอยู่ในรูปของแพเกจได้อย่างไร
รวมถึงรูปแบบการตั้งชื่อและลักษณะของแพกเกจ
* คำสั่งจัดการแพกเกิจชนิดต่าง ๆ
และข้อเด่นและข้อด้อยของตัวจัดการแพกเกจชนิดต่างๆ จนถึงการวิวัฒนาการ จาก
dpkg apt-get aptitude synaptic ไปจนถึง automatic update
Part 9: การใช้งาน vi editor
* ทำไมต้อง vi ข้อดีข้อด้อยต่างๆ ศึกษาโครงสร้างและการไกการทำงาน
* การใช้งานเบื้องต้น และเทคนิคต่างๆ ที่นำมาใช้งานแอดมิน
Part 10: การบูตระบบและเซอร์วิส
* อธิบายการทำงานของเครื่องตั้งแต่เปิดสวิทช์
จนกระทั่งขึ้นหน้าเชลล์ล็อกอิน เพื่อให้ผุ้เรียนสามารถลำดับการทำงาน
และแยกส่วน ของการบูตได้ ว่าอะไรเป็นส่วนของเคอร์เนล อะไรเป็นเซอร์วิส
อะไรเป็นสคริปต์
* ทำความเข้าใจภาพรวมของเซอร์วิส ความเกี่ยวพันกันระหว่าง
หมายเลขพอร์ตและโพรเซสของเซอร์วิส
โดยผุ้เรียนจะต้องมองความสัมพันธ์นี้ให้ออก
ผุ้เรียนจะสามารถปิดเปิดเซอร์วิสที่ต้องการ
รวมถึงการปรับแต่งแก้สคริปที่เกี่ยวข้องกับเซอร์วิสเหล่านี้ได้
* ศึกษาถึงการใช้งาน runlevel
สาเหตุของการใช้งานและความเกี่ยวกันพันธ์ระหว่าง runlevel กับเซอร์วิส
การปรับแต่สคริปของเซอร์วิสเพื่อให้รันสอดคล้องในรันเลเวลต่างๆ กันได้
* เข้าใจกลไกของบูตโหลดเดอร์และการจัดการบูตโหลดเดอร์
Part 11: การจัดการเซอร์วิส
* สามารถติดตั้งและปิดเปิดใช้งานเซอร์วิสดังต่อไปนี้
1. Remote login server
2. Time server
3. LAMP server
4. File server (samba)
5. FTP server
6. DHCP server
7. Firewall policy
Part 12: การเขียนเชลล์สคริปต์
* คำสั่งเบื้องต้นของการเขียเชลล์สคริปต์
* ทำความเข้าใจหลักไวยากรณ์กรในการเขียนเชลล์สคริปต์
* เขียนตัวอย่างสคริปเพื่อนำไปใช้จัดการระบบ
Part 13: การแบคอัพระบบ
Part 14: การจัดการล็อก
* ความหมายของล็อกต่างๆ
* เข้าใจโครงสร้างของ การติดตังและปรับแต่ง syslog-ng
* การควบคุมปริมาณล็อก
ลงทะเบียนออนไลน์กันได้ที่นี่
http://itbakery.net/contents/syslog_training.html
ข้อมูลเพิ่มเติม