สำหรับ Zimbra Open Source Edition ไม่มีฟีเจอร์ Mobile Sync ทำให้ smart device ต่าง ๆ ไม่สามารถเชื่อมต่อ Zimbra ได้โดยตรง จึงต้องใช้ Z-Push ซึ่งเป็นแอพลิเคชัน Open Source ที่เป็น ActiveSync เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง smart device (smart phone, tablet, iPad) กับ Zimbra server
สิ่งที่ต้องเตรียม
- Ubuntu Server หรือ Distro อื่น ๆ แล้วแต่ถนัด สำหรับลง z-push
- Zimbra Server ที่เปิดให้บริการไว้แล้ว
- software ได้แก่ z-push และ z-push zimbra backend
สามารถดาวน์โหลด z-push และ z-push backend ได้โดย
wget http://download.z-push.org/final/2.1/z-push-2.1.3-1892.tar.gz
wget http://sourceforge.net/projects/zimbrabackend/files/Release61/zimbra61.tgz
จากนั้นให้แตกไฟล์ทั้งคู่เก็บไว้ที่ไหนก็ได้ เช่นเก็บไว้ที่ /root/src เป็นต้น
ขั้นตอนการติดตั้งและการเซ็ต เมื่อติดตั้ง Ubuntu Server เสร็จและรัน update/upgrade ระบบแล้วให้ติดตั้งแพคเกจดังนี้เพิ่มเติม
sudo apt-get install php5-curl php-soap php5-cli apache2 libapache2-mod-php5
แก้ไขคอนฟิคของ apache2 โดยแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/httpd.conf ดังนี้
Alias /Microsoft-Server-ActiveSync /var/www/z-push/index.php
php_flag magic_quotes_gpc off
php_flag register_globals off
php_flag magic_quotes_runtime off
php_flag short_open_tag off
ดังรูป
ต่อมาให้สร้างโฟลเดอร์ z-push ลงใน /var/www/ จากนั้นให้คัดลอกไฟล์ z-push ลงใน /var/www/z-push/
mkdir /var/www/z-push
cp -a /root/src/z-push-2.1.3-1892/* /var/www/z-push/
จากนั้นให้สร้างโฟลเดอร์ zimbra ลงใน /var/www/z-push/backend/ จากนั้นให้คัดลอกไฟล์ z-push zimbra backend ลงในนั้น /var/www/z-push/backend/zimbra
mkdir /var/www/z-push/backend/zimbra
cp -a /root/src/zimbra61/z-push-2/* /var/www/z-push/backend/zimbra/
สร้างโฟลเดอร์ z-push ลงใน /var/log/ จากนั้น สร้างไฟล์สำหรับเก็บ log ของ z-push ลงใน /var/log/z-push/ รวมทั้งเปลี่ยนสิทธิ permission
mkdir /var/log/z-push/
touch z-push.log z-push-error.log /var/log/z-push
chmod -R 775 /var/log/z-push
chown www-data:www-data /var/log/z-push
สร้าง โฟลเดอร์ z-push ลงใน /var/lib/ รวมทั้งเปลี่ยนสิทธิ permission
mkdir /var/lib/z-push
chown www-data:www-data /var/lib/z-push
แก้ไขไฟล์ /var/www/z-push/config.php โดย แก้ไข จาก
define('BACKEND_PROVIDER', "BackendZarafa");
ให้เป็น
define('BACKEND_PROVIDER', "BackendZimbra");
และ
Define('TIMEZONE', '');
แก้เป็น
Define('TIMEZONE', 'Asia/Bangkok');
แก้ไขไฟล์ /var/www/z-push/backend/zimbra/config.php โดยแก้ไข จาก
define('ZIMBRA_URL', 'http[s]://');
ให้เป็น Zimbra server ที่ใช้งานอยู่ เช่น
define('ZIMBRA_URL', 'https://mail.osdev.local');
เมื่อตั้งค่าเสร็จ ก็ให้ restart apache2
service apache2 restart
ขั้นตอนต่อมา ทดสอบการเชื่อมต่อด้วยเว็บบราวเซอร์ โดยใช้ชี้ไปที่ Ubuntu Server ที่รัน z-push อยู่ จะมีหน้าต่างให้กรอกผู้ใช้และรหัสผ่านของ Zimbra โดยเข้า URL นี้
http://Z-push_Server/Microsoft-Server-ActiveSync
Z-push_Server คือ IP Address หรือ Hostname เครื่องที่ติดตั้ง Z-Push
เมื่อ login สำเร็จ ก็จะมีหน้าเพจบอกว่า การ login เข้ามานี้สำเร็จ ดังรูป
แค่นี้ก็ใช้บริการ ActiveSync โดยใช้อุปกรณ์ที่รองรับเชื่อมต่อ Zimbra ได้แล้ว สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จาก